ในบทนี้จะเป็นขั้นตอนการติดตั้งจูมล่า Joomla โดยเป็นเวอร์ชั่น Joomla 3.9.21 ปี 2020 ซึ่งเราได้ดาวน์โหลด ทำการแตกไฟล์ และนำโฟรเดอร์ของ joomla ไปวางในโฟรเดอร์ htdocs ใน Web server Xampp แล้วนะครับ
เริ่มต้นด้วย ให้เราไปที่ URL ของเว็บไซต์ใหม ที่เราวางไฟล์เอาไว้แล้ว โดยเรียกตามชื่อของโฟรเดอร์ที่เราตั้งใหม่นะครับ ในที่นี้ก็คือ demo_j3921 ดังนั้น url ก็คือ
http://localhost/demo_j3921
เราก็จะเข้ามาที่หน้าติดตั้งของ joomla กันนะครับ ดังรูปที่.1
รูปที่.1
จากนั้นก็ให้ใส่รายละเอียดตามหัวข้อต่างๆ ได้เลย ที่สำคัญ อย่าลืม ชื่อผู้ดูแล และ รหัสผ่านของผู้ดูแล นะครับ เพราะเราต้องใช้ในการเข้าสู่หลังบ้านหรือในส่วน Administrator ครับ จากนั้นก็คลิ๊กที่ ต่อไป ได้เลย
รูปที่.2
ต่อมาจะเป็นในส่วนตั้งค่าฐานข้อมูล ดังรูปที่.2 โดยให้เราใส่รายละเอียดดังนี้
1. ชื่อโฮส : ให้เราใส่ชื่อโฮส ปกติจะใช้ localhost อยู่แล้วนะครับ
2. ชื่อผู้ใช้ฐานข้อมูล : ปกติจะเป็น root
3. รหัสผ่าน : เป็นรหัสผ่านของ root ดูวิธีการสร้างรหัสผ่านของ root ได้จาก บทความนี้
4.ชื่อฐานข้อมูล : ชื่อดาตาเบสที่เราสร้างขึ้น (หากยังไม่ได้สร้าง สามารถใส่ชื่อตรงนี้ได้เลย ระบบจะสร้าง ดาตาเบสให้โดยอัตโนมัตครับ)
จากนั้นก็คลิ๊กที่ ต่อไปได้เลย ดังรูปที่.3
รูปที่.3
เราก็จะมาที่หน้าบทสรุป ซึ่งจะถามเราว่าจะติดตั้งข้อมูลตัวอย่างหรือไม่ แนะนำว่าไม่ต้องติดตั้งครับ ส่วนด้านล่างก็จะเป็นรายละเอียดแจ้งให้เราทราบถึงการติดตั้ง ให้เราคลิ๊กที่ ต่อไป รูปที่.4
รูปที่.4
จากนั้นระบบก็จะทำการติดตั้งข้อมูลต่างๆ ใช้เวลาสักพักนะครับ ดังรูปที่.4 และเมื่อเสร็จแล้ว เราก็จะมาที่หน้าสุดท้าย ดังรูปที่.5
รูปที่.5
ในหน้านี้ จะสามารถติดตั้งภาษาได้เลย แต่แนะนำให้ติดตั้งที่หลังจะดีกว่า และ อย่าลืมลบโฟลเดอร์ installation ออกด้วยนะครับ เท่านี้การติดตั้ง joomla ก็เสร็จแล้วนะครับ
เว็บไซต์ joomla จะมีอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ
1.หน้าหลักของเว็บไซต์ ดังรูปที่.6
รูปที่.6
เราสามารถเข้าหน้าเว็บไซต์ด้วย url ของเว็บตามปกติ เช่น
localhost/demo_j3921
เราก็จะมาที่หน้าแรกของเว็บไซต์ Joomla ที่เราพึงทำการติดตั้ง
2.หน้าผู้ดูแลระบบ ดังรูปที่.7
รูปที่.7
หน้าผู้ดูแลระบบ หรือ administrator เราสามารถเข้าสู่หลังบ้านของ joomla ผ่านทาง Url เว็บไซต์แล้วต่อท้ายด้วย administrator เช่น
localhost/demo/administrator
เราก็จะมาที่หน้า login ของ ผู้ดูและระบบ (administrator) ดังรูปที่.7 จากนั้นให้ลองทำการ login ตาม ชื่อผู้ดูแล และ รหัสผู้ดูแล ในขั้นตอนแรก ของการติดตั้ง ตามรูปที่.1 เราก็จะเข้ามาในส่วนของ Administrator ดังรูปที่.8
รูปที่.8
ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นตัวจัดการในทุกส่วนที่แสดงในหน้าเว็บ เช่น บทความ เมนู ส่วนเสริม เทมเพลต รวมถึง ภาษา นะครับ